วันศุกร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2554

MI (Multiple Intelligences Theory) ทฤษฎีพหุปัญญา

        โฮวาร์ด การ์ดเนอร์ (Howard Gardner) อาจารย์จิตวิทยา มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้ทำโครงการที่ชื่อว่า Harvard, s project Zero ซึ่งเป็นโครงการที่ศึกษาถึงพัฒนาการพุทธิพิสัยเด็กปัญญาเลิศและเด็กที่บกพร่องทางสติปัญญาเป็นเวลาหลายปี ในปี ค.ศ. 1983 ซึ่ง Gardner ระบุว่ามีปัญญาอยู่ 7 ด้าน ต่อมา เขาได้เพิ่มเติมปัญญาด้านที่ 8 คือด้านความสามารถในการเข้าใจสภาพธรรมชาติ


        1. ความฉลาดทางด้านภาษา (Linguistic intelligence) ความสามารถในการเข้าใจความหมายและการใช้ภาษา การพูดและการเขียน การเรียนรู้ภาษา การใช้ภาษาสื่อสารให้ได้ผลตามเป้าหมาย สื่ออารมณ์ความรู้สึกให้คนอื่นเข้าใจได้ดี เช่น นักกวี นักเขียน นักพูด นักกฎหมาย
        2. ความฉลาดทางด้านตรรกะ (Logical-mathematic intelligence) ความสามารถทางด้านคณิตศาสตร์ และเรื่องของเหตุผล คิดวิเคราะห์ ในเชิงวิทยาศาสตร์ เช่น นักวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์
       3. ความฉลาดทางด้านดนตรี (Musical intelligence) ความสามารถในการเข้าใจและสร้างสรรค์ดนตรี เข้าใจจังหวะ เช่น นักแต่งเพลง นักดนตรี นักเต้น



 
       4. ความฉลาดทางด้านมิติ (Spatial intelligence) ความสามารถในการสร้างภาพในจินตนาการ และนำมาสร้างสรรค์เป็นผลงาน เช่น จิตรกร ประติมากร สถาปนิก ดีไซเนอร์
       5. ความฉลาดทางด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย (Bodily-kinesthetic intelligence) ความสามารถในการใช้ร่างกายเคลื่อนไหวอย่างสร้างสรรค์ เช่น นักเต้น นักกีฬา นักแสดง


 
       6. ความฉลาดในการเป็นผู้นำ (Interpersonal intelligence) ความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกนึกคิดของผู้อื่น สามารถจูงใจผู้อื่น เช่น นักการเมือง ผู้นำทางศาสนา ครู นักการ ศึกษา นักขาย นักโฆษณา 



 
       7. ความฉลาดภายในตน (Intrapersonal intelligence) ความสามารถในการเข้าอกเข้าใจความรู้สึกภายในของผู้คน เช่น นักเขียน ผู้ให้คำปรึกษา จิตแพทย์ 
       8. ความฉลาดทางด้านธรรมชาติ (Naturalist intelligence) ความสามารถในการเรียนรู้เรื่องธรรมชาติ พืช สัตว์ ธรณีวิทยา สิ่งแวดล้อม

 
    


สื่อประกอบการเรียนการสอนแบบทฤษฎีพหุปัญญา

วันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2554

Culture การจัดกิจกรรมการเรียนรู้วัฒนธรรม

      วัฒนธรรมของเจ้าของภาษามีบทบาทสำคัญในการเรียนภาษาต่างประเทศ เพราะวัฒนธรรมไม่สามารถแยกออกจากภาษาผู้เรียนต้องเรียนรู้วัฒนธรรมไปพร้องๆ กันกับการเรียนรู้ภาษา



          นักภาษาศาสตร์และนักมนุษยวิทยามีความเชื่อมาเป็นเวลานานแล้วว่า ในขณะที่คนพูดภาษาใดภาษาหนึ่งนั้นได้สะท้อนวัฒนธรรมของสังคมนั้นๆ ด้วย แสดงให้เห็นว่าความสามารถทางภาษาศาสตร์อย่างเดียวไม่เพียงพอในการเรียนรู้ภาษาใดภาษาหนึ่งผู้เรียนจำเป็นต้องรับรู้วัฒนธรรมของภาษานั้นๆ ด้วย (Krasner)


          ครามัช (Kramsch) กล่าวว่าในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วัฒนธรรมนั้นผู้สอนต้องจัดบรรยากาศในห้องเรียนเพื่อให้ผู้เรียนได้สำรวจวัฒนธรรมเป้าหมายได้ด้วยตนเอง ซึ่งนักวิจัยพบว่าการใช้สิ่งของของเจ้าของภาษากระตุ้นให้ผู้เรียนมีโอกาสได้ใช้ความคิด เป็นวิธีที่ช่วยใหัผู้เรียนได้ใช้ข้อมูลใหม่กับความรู้เดิมในวัฒนธรรมของผู้เรียน


สื่อประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วัฒนธรรม
     Unit: Places  Topic: Places for Vacation

Cooperative Learning การเรียนรู้แบบร่วมมือ

          การเรียนรู้แบบร่วมมือเป็นการจัดการเรียนการสอนที่แบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มเล็กๆ สมาชิกในกลุ่มมีความสามารถแตกต่างกันมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีการช่วยเหลือสนับสนุนซึ่งกันและกัน และมีความรับผิดชอบร่วมกันทั้งในส่วนตน และส่วนรวม เพื่อให้กลุ่มได้รับความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด


องค์ประกอบที่สำคัญของการเรียนรู้แบบร่วมมือ ดังนี้
       1.ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันในทางบวก (Positive Interdependence) หมายถึง การที่สมาชิกในกลุ่มทำงานอย่างมีเป้าหมายร่วมกัน มีการทำงานร่วมกัน โดยที่สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมในการทำงานนั้น



        2.การมีปฏิสัมพันธ์ที่ส่งเสริมซึ่งกันและกัน (Face To Face Promotive Interaction) เป็นการติดต่อสัมพันธ์กัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน การอธิบายความรู้ให้แก่เพื่อนในกลุ่มฟัง เป็นลักษณะสำคัญของการติดต่อปฏิสัมพันธ์โดยตรงของการเรียนแบบร่วมมือ
        3.ความรับผิดชอบของสมาชิกแต่ละบุคคล (Individual Accountability) ความรับผิดชอบของสมาชิกแต่ละบุคคล เป็นความรับผิดชอบในการเรียนรู้ของสมาชิกแต่ละบุคคล โดยมีการช่วยเหลือส่งเสริมซึ่งกันและกัน


        4.การใช้ทักษะระหว่างบุคคลและทักษะการทำงานกลุ่มย่อย (Interdependence and Small Group Skills) ทักษะระหว่างบุคคล และทักษะการทำงานกลุ่มย่อย  
        5.กระบวนการกลุ่ม (Group Process) เป็นกระบวนการทำงานที่มีขั้นตอนหรือวิธีการที่จะช่วยให้การดำเนินงานกลุ่มเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  
        
สื่อประกอบการเรียนรู้แบบร่วมมือ
     Unit: Travel  Topic: Transport 

CALL (Computer-assisted language learning program)

         ผ่าน บาลโพธิ์ (2539) อธิบายลักษณะของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยเรียนภาษา หรือ CALL (Computer-assisted language learning program) ไว้ว่า โปรแกรมช่วยเรียนภาษาเป็นชุดคำสั่งที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนการสอนภาษามีลักษณะเหมือนกับโปรแกรมช่วยการสอน หรือ CAI คือ มีการเสนอเื้นิ้อหาหรือเนื้อเรื่อง มีการถามการตอบ มีการแนะนำและอธิบายแต่จะกว้างกว่า CALL เพราะ CAI บอกให้ทราบว่าเป็นโปรแกรมช่วยการสอนเท่านั้น ส่วนจะสอนวิชาใดบ้างก็แล้วแต่ผู้สร้างโปรแกรม 



       แต่ CALL หมายถึงโปรแกรมช่วยเรียนภาษาโดยเฉพาะ ใช้ได้ทั้งกับการเรียนในห้องเรียน โดยมีผู้สอนเป็นผู้ควบคุมดูแลกระบวนการเรียน



       และการให้ผู้เรียนเรียนจากโปรแกรมด้วยตนเองที่ศูนย์การเรียนรู้ดวยตนเอง (Self-access learning center) หรือที่ศูนย์คอมพิวเตอร์และสำหรับสถานศึกษาทีมีความพร้อมก็อาจมอบแผ่นโปรแกรมให้ผู้เรียนนำไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์นอกสถานศึกษาโดยผ่านโมเด็มและสายโทรศัพท์

บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนภาษา
     Unit: Occupation  Topic: Future Career                                                          Part 1  /  Part 2  /  Part 3  /  Part 4
     Unit: Scien and Technology  Topic: Solar System


วิดีโอสาธิตการสอนโปรแกรม CALL ขั้น Presentation
    

 

CLIL วิธีสอนภาษาแบบบูรณาการภาษาและเนื้อหา

      แมคโกรอาที่ (Mcgroarty. 1998) กล่าวถึงความเป็นมาของวิธีสอนภาษาบบบูรณาการภาษาและเนื้อหาว่า วิธีสอนภาษาแบบบูรณาการภาษาและเนื้อหามีพื้นฐานแนวคิดมาจากการศึกษาสองภาษา (bilingual education) เป็นกระบวนการจัดการศึกษาที่ใช้สองภาษาเป็นสื่อในการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียน 



       อย่างไรก็ตาม ผู้เรียนจะได้เรียนหนึ่งหรือสองภาษาขึ้นอยู่กับลักษณะของโปรแกรม ซึ่งการศึกษาสองภาษามีหลายโปรแกรม บางโปรแกรมไม่ได้ตั้งจุดมุ่งหมายให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เฉพาะสองภาษาเท่านั้น เช่น ในสหรัฐอเมริกา ในพื้นที่ที่คนส่วนมากใช้ภาษาอังกฤษ การเรียนภาษาอังกฤษสำหรับผู้เรียนที่ไม่ใช่เจ้าของภาษา ก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมสองภาษาเพราะความมุ่งหมายของโปรแกรมคือ ใช้ภาษาอังกฤษในการพัฒนาทักษะภาษาวิชาการ ซึ่งผู้เรียนพัฒนาภาษาวิชาการได้ยากกว่าภาษาเพื่อการสื่อสาร 



        ดังนั้นผู้สอนจึงต้องจัดเตรียมกิจกรรมเป็นอย่างดี ด้วยเหตุผลนี้เองจึงจำเป็นต้องพัฒนาทั้งภาษาที่หนึ่งคือ ภาษาของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเพิ่มขีดความสามารถทางภาษาของตนเองมากขึ้น ก็จะทำให้ขีดวามสามารถในการใช้ภาษาที่สองมากขึ้นเช่นกัน

สื่อประกอบการเรียนการสอนภาษาแบบบูรณาการภาษาและเนื้อหา (CLIL) 
        Top Secret Invisible Ink
        Color Changing Milk Part 1  /  Part 2
        


วิดีโอสาธิตการสอนภาษาแบบบูรณาการภาษาและเนื้อหา
ขั้น Experiment

ทักษะการเขียน (Writing Skill)

             การเขียน คือ การสื่อสารให้ผู้อื่นได้รับรู้ด้วยข้อความเป็นลายลักษณ์อักษร มีจุดมุ่งหมายเพื่อถ่ายทอดความคิดของผู้ส่งสารคือผู้เขียนไปสู่ผู้รับสารคือผู้อ่าน มากกว่าการมุ่งเน้นในเรื่องของการใช้คำและหลักไวยากรณ์ หรือ อาจกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า การเขียนเป็นการสื่อสารที่มุ่งเน้นความคล่องแคล่ว( Fluency) ในการสื่อความหมาย มากกว่าความถูกต้องของการใช้ภาษา ( Accuracy) 


        อย่างไรก็ตาม กระบวนการสอนทักษะการเขียน ยังจำเป็นต้องเริ่มต้นจากการสร้างระบบในการเขียน จากความถูกต้องแบบควบคุมได้ (Controlled Writing) ไปสู่การเขียนแบบควบคุมน้อยลง (Less Controlled Writing) อันจะนำไปสู่การเขียนแบบอิสระ ( Free Writing) ได้ในที่สุด การฝึกทักษะการเขียนสำหรับผู้เรียนระดับต้น สิ่งที่ผู้สอนต้องคำนึงถึงให้มากที่สุด คือ ต้องให้ผู้เรียนมีข้อมูลเกี่ยวกับ คำศัพท์ ( Vocabulary) กระสวนไวยากรณ์ ( Grammar Pattern) และเนื้อหา ( Content) อย่างเพียงพอที่จะเป็นแนวทางให้ผู้เรียนสามารถคิดและเขียนได้

 
             ซึ่งการสอนทักษะการเขียนในระดับนี้ อาจมิใช่การสอนเขียนเพื่อสื่อสารเต็มรูปแบบ แต่จะเป็นการฝึกทักษะการเขียนอย่างเป็นระบบที่ถูกต้อง อันเป็นรากฐานสำคัญในการเขียนเพื่อการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพในระดับสูงได้ต่อไป ครูผู้สอนควรมีความรู้และความสามารถในการจัดการเรียนรู้เพื่อฝึกทักษะการเขียนให้แก่ผู้เรียน ผู้เรียนจึงจะมีทักษะการเขียนภาษาอังกฤษที่มีประสิทธิภาพสูงสุด


ตัวอย่างแผนการจัดกิจกรรมและสื่อประกอบการเรียนการสอนทักษะการเขียน (Writing Skill) 
          Unit: Culture Topic: Local Stories ST: Local History Part 1                          / Part 2   กลุ่ม ริน ลักษณ์ มิน



วิดีโอสาธิตการสอนทักษะการเขียน ขั้น Post 

 

ทักษะการอ่าน (Reading Skill)


การอ่านภาษาอังกฤษ  มี 2  ลักษณะ คือ  การอ่านออกเสียง (Reading aloud) และ การอ่านในใจ  (Silent Reading )  การอ่านออกเสียงเป็นการอ่านเพื่อฝึกความถูกต้อง (Accuracy)  และความคล่องแคล่ว ( Fluency)   ในการออกเสียง   



ส่วนการอ่านในใจเป็นการอ่านเพื่อรับรู้และทำความเข้าใจในสิ่งที่อ่านซึ่งเป็นการอ่านอย่างมีจุดมุ่งหมาย เช่นเดียวกับการฟัง  ต่างกันที่ การฟังใช้การรับรู้จากเสียงที่ได้ยิน ในขณะที่การอ่านจะใช้การรับรู้จากตัวอักษรที่ผ่านสายตา 



ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเป็นทักษะที่สามารถฝึกฝนให้ผู้เรียนเกิดความชำนาญและมีความสามารถเพิ่มพูนขึ้นได้  ด้วยเทคนิควิธีการโดยเฉพาะ  ครูผู้สอนจึงควรมีความรู้และเทคนิคในการสอนทักษะการอ่านให้แก่ผู้เรียน เพื่อให้การอ่านแต่ละลักษณะประสบผลสำเร็จ                                                                                                       ตัวอย่างแผนการจัดกิจกรรมและสื่อประกอบการเรียนการสอน ทักษะการอ่าน (Reading Skill)   
                                                                                                                          วิดีโอสาธิตการสอนทักษะการอ่าน ขั้น Presentation


วันพุธที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2554

ทักษะการพูด (Speaking Skill)


ไบเล่ย์ (Bailey, 2005) ให้ความหมายของการพูดและการสอนพูดไว้ดังนี้ 
         การพูด (speaking) หมายถึงการเปล่งเสียงออกมาเพื่อให้เกิดความหมาย การพูดเป็นการบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่าง ผู้พูด ผ้ฟัง และข้อมูล การพูดเป็น productive skills เพราะผู้พูดเป็นผู้ให้ข้อมูล หรือเป็นผู้ส่งสาร การพูดกับการเขียนถือว่าเป็น productive skills ส่วนการฟังและการอ่านเป็น receptive skills เป็นการรับสาร



        การสอนพูด (teaching speaking) ในยุคก่อนหมายถึงการให้ความช่วยเหลือผู้เรียนให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ เสียง คำศัพท์ โครงสร้างหรือการสอนความรู้ด้านภาษา (linguistic competence)  โดยการสะสมความรู้ทีละเล็กที่ละน้อยนำมารวมกันแล้วในที่สุดก็ใช้ภาษาในการสื่อสารได้ เริ่มตั้งแต่ปี คศ. 1970 เป็นต้นมาเริ่มเปลี่ยนความคิดจากการการสอนความรู้ทางภาษามาเป็นการสอนให้ผู้เรียนมีความสามารถในการสื่อสาร ทั้งนี้เพราะในประเทศเจ้าของภาษา เช่น ออสเตรเลีย แคนาดา นิวซีแลนด์ อังกฤษ และอเมริกา เริ่มมีผู้อพยพเข้าไปอาศัยอยู่ในประเทศเหล่านั้น 


       การสอนภาษาอังกฤษเพียงเพื่อให้มีความรู้ทางภาษาไม่สามารถช่วยให้ผู้อพยพสื่อสารได้ นักการศึกษาด้านภาษาที่สองจึงคิดวิธีการสอนขึ้นมาใหม่เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความสามารถในการสื่อสาร (communicative competence) ซึ่งผู้เรียนต้องสามารถใช้ภาษาเพื่อปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นตามสถาณการณ์และบริบทต่างๆ และ ยังต้องเข้าใจวัฒนธรรมของเจ้าของภาษาด้วย 


ตัวอย่างแผนการจัดกิจกรรมและสื่อประกอบการเรียนการสอนทักษะการพูด (Listening Skill)
         Unit : Occupation Topic: Future Career

วิดีโอสาธิตการสอนทักษะการพูด ขั้น While



ทักษะการฟัง (Listening Skill)

ทักษะการฟังภาษาอังกฤษ ( Listening Skill)
        ทักษะการฟังภาษาอังกฤษเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องฝึกฝนให้ผู้เรียนเกิดความชำนาญ และมีความสามารถในการฟังอย่างเข้าใจในสารที่ได้รับฟัง ครูผู้สอนควรมีความรู้และเทคนิคในการสอนทักษะการฟังอย่างไร จึงจะสามารถจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนได้ประสบผลสำเร็จ 


        การฟังในชีวิตประจำวันของคนเราจะเกิดขึ้นได้ใน 2 กรณี คือ การฟังที่ได้ยินโดยมิได้ตั้งใจในสถานการณ์รอบตัวทั่วๆไป ( Casual Listening) และ การฟังอย่างตั้งใจและมีจุดมุ่งหมาย ( Focused Listening) จุดมุ่งหมาย หรือวัตถุประสงค์ของการฟัง คือ การรับรู้และทำความเข้าใจใน “สาร” ที่ผู้อื่นสื่อความมาสู่เรา 


      ทักษะการฟังภาษาอังกฤษเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องฝึกฝนให้ผู้เรียนเกิดความชำนาญ และมีความสามารถในการฟังอย่างเข้าใจในสารที่ได้รับฟัง ครูผู้สอนควรมีความรู้และเทคนิคในการสอนทักษะการฟังอย่างไร จึงจะสามารถจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนได้ประสบผลสำเร็จ

ตัวอย่างแผนการจัดกิจกรรมและสื่อประกอบการเรียนการสอนทักษะการฟัง (Listening Skill)  
     Unit : Culture  Topic : Local Wisdom  
     Sub-Topic : Beliefs


วิดีโอสาธิตการสอนทักษะการฟัง ขั้น Production

 

วิธีสอนภาษาที่เน้นเนื้อหา (CBI- Content-based Instruction)

       Brinton, Snow และ Wesche (1989) ให้คำอธิบายเกี่ยวกับการสอนภาษาโดยใช้เนื้อหาเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ภาษา หรือที่เรียกว่า Content – Based Instruction (CBI)


      วิธีการสอนภาษาที่เน้นเนื้อหาเป็นการสอนที่ประสานเนื้อหาเข้ากับจุดประสงค์ของการสอนภาษาเพื่อการสื่อ สาร โดยมุ่งให้ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาอังกฤษเป็นเครื่องมือในการศึกษาเนื้อหา พร้อมกับพัฒนาภาษาอังกฤษเชิงวิชาการผู้สอนที่ใช้แนวการสอนแบบนี้เห็นว่าครู ไม่ควรใช้เนื้อหาเป็นเพียงแบบฝึกหัดทางภาษาเท่านั้น แต่ครูควรฝึกให้ผู้เกิดความเข้าใจสาระของเนื้อหา โดยใช้ทักษะทางภาษาเป็นเครื่องมือ ครูจะใช้เนื้อหากำหนดรูปแบบของภาษา (Form) หน้าที่ของภาษา (Function) และทักษะย่อย (Sub – Skills) ที่ผู้เรียนจำเป็นต้องรู้เพื่อที่จะเข้าใจสาระของเนื้อหาและทำกิจกรรมได้ 


       การใช้เนื้อหาเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ภาษานี้จะทำให้ครูสามารถสร้างบทเรียน ให้สอดคล้องกับสถานการณ์จริงได้มากที่สุด ทั้งนี้ครูจะต้องเข้าใจการสอนแบบบูรณาการหรือทักษะสัมพันธ์ ตลอดจนเข้าใจเนื้อหาและสามารถ ใช้เนื้อหาเป็นตัวกำหนดบทเรียนทางภาษา (Brinton, Snow, Wesche, 1989)


ตัวอย่างแผนการจัดกิจกรรมและสื่อประกอบการเรียน
การสอนแบบ CBI
      Unit : Health  Topic : Sports & Exercises 

      Unit : Culture  Topic : Local Wisdom
      Sub-Topic : Beliefs ( Presentation and Listening                Part 1  /  Part 2  /Part 3  / Speaking    / 
          Reading and Writing )

     Unit: Travel Topic: Places-Attractive Place กลุ่มแจ๋ว
          Part 1Part 2
    
     Unit: Sccience&Technology Topic: Changes in Life  
         กลุ่มริน ลักษณ์ มินตรา


วิดีโอสาธิตการสอน CBI ทักษะอ่าน


วิดีโอสาธิตการสอน CBI ทักษะเขียน


วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2554

The PPP Approach to Communicative Language Teaching

"PPP" (or the "3Ps") stands for Presentation, Practice and Production - a common approach to communicative language teaching that works through the progression of three sequential stages.

Presentation represents the introduction to a lesson, and necessarily requires the creation of a realistic (or realistic-feeling) "situation" requiring the target language to be learned.  This can be achieved through using pictures, dialogs, imagination or actual "classroom situations". 

Practice usually begins with what is termed "mechanical practice" - open and closed pairwork.  Students gradually move into more "communicative practice" involving procedures like information gap activities, dialog creation and controlled roleplays.  Practice is seen as the frequency device to create familiarity and confidence with the new language, and a measuring stick for accuracy. 

Production is seen as the culmination of the language learning process, whereby the learners have started to become independent users of the language rather than students of the language.  The teacher's role here is to somehow facilitate a realistic situation or activity where the students instinctively feel the need to actively apply the language they have been practicing. 

http://www.englishraven.com/method_PPP.html

ตัวอย่างแผนการจัดกิจกรรมและสื่อประกอบการเรียน
การสอนแบบ PPP
 
     Unit : Travel  Topic : Direction

     Unit : Free Time  Topic : Movies Part 1 /
              Part 2 / Part  3 / Part 4

     Unit : Free Time  Topic : Music

     Unit: Individual Difference Topic: Like/Dislike กลุ่มแจ๋ว

     Unit: My Personal Information Topic: Part of body กลุ่มริน


วิดีโอสาธิตการสอน PPP ขั้น presentation



B-SLIM Model

     

         B-SLIM  incorporates enough scaffolding (structure and support) at each phase of a lesson or series of lessons for learners who are less self sufficient to succeed while simultaneously providing opportunities and direction for the more self-directed student to push forward.  For example, while a less self-directed student might need to follow a template several times before really ‘getting’ the structure of a form such as a brief event review (in order to be able to create one on his/her own as an OUTPUT or 'proving it' assignment), a more self-directed learner may only need to hear or see the model once and be able to replicate and creatively alter it!

 B-SLIM Plans
Unit : Health  Topic: How to keep fit
Unit : School  Topic : Color
Unit : Freetime Topic : Sport กลุ่มแจ๋ว Part 1Part 2 / Part 3
Unit : Family Topic: Family member P.4  กลุ่ม อิ๋ม ติ๊ก แอ๋ม 
Unit : Enviroment Topic: Wildlife M.2 กลุ่มแป้ง
Unit: Health Topic: Food Groups Part 1 /Part 2 /Part 3 /Part 4 ริน 
Unit: Shopping Topic: Clothes P.5 Part 1 / Part 2 แก้ว เปรียว ลูกหยี


Sample TeachingVideo B-SLIM  -  Using
By Piyaman Sukkaew


Sample Teaching Video B-SLIM - Input By Supaporn Sanlears

Sample TeachingVideo B-SLIM  - Getting By Bunpha Pongchako